สายพานลำเลียง (Conveyor Belts)

Last updated: 16 ม.ค. 2562  |  12625 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สายพานลำเลียง (Conveyor Belts)

 
  1. ความทนทานต่อแรงเฉือน (Tear strength)
ระหว่างการใช้งาน ชั้นของสายพานแต่ละชั้นจะรับแรงในการขับเคลื่อนสายพานในปริมาณที่แตกต่างกัน เมื่อสายพานผ่านพู่เลย์ ยางผิวด้านล่างจะเกิดแรงกด ส่วนยางผิวด้านบนจะถูกยืดออก และชั้นของสายพานแต่ละชั้นก็รับแรงไม่เท่ากัน ระหว่างชั้นวัสดุแต่ละชั้นของสายพาน จะมีแรงเฉือนเกิดขึ้น แรงเฉือนดังกล่าวจะกระทำกับแต่ละจุดของสายพานมีลักษณะเป็นรอบ อาจทำให้เกิดปัญหาแยกชั้นของสายพานได้หากแรงยืดของแต่ละชั้นไม่แข็งแรงพอ การทดสอบผลิตภัณฑ์สายพานลำเลียงจึงต้องมีการทดสอบ สมบัติความทนทานต่อแรงเฉือนของสายพาน เกี่ยวกับการยึดติดระหว่างชั้นสายพานแต่ละชั้น
  1. ความทนทานต่อการสึกหรอ (Abrasion Resistance)
สายพานจะเกิดการเสียดสีตลอดเวลาในระหว่างการใช้งาน โดยเฉพาะที่ผิวยางด้านบน ซึ่งเป็นส่วนที่ต้องสัมผัสกับวัสดุที่ต้องการจะลำเลียงวัสดุแต่ละชนิด จะทำให้เกิดการสึกหรอแตกต่างกัน จึงต้องมีการตรวจสอบทุกครั้งในการผลิตสายพานลำเลียง
  1. ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม (Environmental Resistance)
การใช้งานสายพานลำเลียงมีลักษณะที่แตกต่างกันไป การใช้ในงานกลางแจ้ง ผิวของสายพานที่ใช้จะต้องมีความทนทานต่อแสงยูวี (UV) ออกซิเจน และโอโซน ซึ่งจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้สายพานเสื่อมสภาพเร็วมากขึ้น การใช้งานที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น น้ำมัน, กรดหรือด่าง, เป็นต้น ผิวของสายพานก็ควรมีสมบัติที่สามารถทนทานต่อสารเคมีเหล่านั้นได้
  1. ความทนทานต่อความร้อน (Heat Resistance)
สายพานที่ผ่านพู่เลย์จะเกิดการผิดรูปที่มีลักษณะเป็นคาบ ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนสะสม (Heat Build Up) ขึ้นได้ โดยเฉพาะสายพานที่ใช้แรงดึงและเดินรอบสูง ๆ จะเกิดความร้อนขึ้นมาก ซึ่งอาจจะทำให้ยางเสื่อมสภาพเร็วกว่าที่ควรจะเป็นได้
ส่วนสมบัติอื่นที่ควรมีการคำนึงถึง คือ ความทนทานต่อแรงดึง และความทนทานต่อความล้า ยางผิวสายพานต้องมีความทนทานต่อแรงดึงพอสมควรเนื่องจาก จะต้องรับแรงดึงที่ใช้ขับเคลื่อนสายพาน และต้องมีความทนทานต่อความล้าด้วย เนื่องจากการผิดรูปลักษณะเป็นรอบดังกล่าวข้างต้น
 
ที่มา: http://engineerknowledge.blogspot.com
 
 

Powered by MakeWebEasy.com